มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://thairice.org The Thai Rice Foundation Under Royal Patronage Tue, 09 Apr 2024 01:34:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.4 การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิฯ ประจำปี 2567 https://thairice.org/?p=14537 Fri, 29 Mar 2024 06:00:57 +0000 https://thairice.org/?p=14537
การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิฯ ประจำปี 2567

จัดขึ้นในวันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บางเขน กรุงเทพฯ เพื่อรับรายงานผลการดำเนินงาน ของมูลนิธิฯ ในปี 2566 และร่วมกำหนดแผนงานของมูลนิธิฯ ในปี 2567-2568
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิฯ เป็นประธานการประชุม

กรรมการผู้เข้าร่วมประชุม 19 ท่าน ประกอบด้วย :

1. กรรมการบริหาร 14 ท่านและที่ปรึกษากรรรมการ 1 ท่าน : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล คุณเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ดร.ขวัญใจ โกเมศ

ดร.สมศรี อรุณินท์ รศ.สมพร อิศวิลานนท์ คุณพูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์ คุณลักขณา นะวิโรจน์ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน
ดร.วัลลภ มานะธัญญา ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา คุณสุเมธ เหล่าโมราพร คุณวรรณิภา ภักดีบุตร และคุณดรุณี เอ็ดเวิร์ดส

2. กรรมการกิตติมศักดิ์ (หรือผู้แทน) 4 ท่าน: อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม ผู้แทน)

อธิบดีกรมการข้าว (ดร.รณชัย ช่างศรี ผู้แทน) ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
(คุณชาญวิทย์ รัตนราศรี ผู้แทน) ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (คุณพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้แทน)

ผลการประชุมย่อๆ มีดังนี้ :

1. โครงการที่คณะกรรมการฯ อนุมัติให้มูลนิธิดำเนินการต่อในปี 2567 คือ “การประกวดนวัตกรรม ข้าวไทยปี 2567”

และ”การประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2567” ส่วนโครงการใหม่ 2 โครงการที่จะเริ่มในปี 2567 ประกอบด้วย “โครงการ Priority Setting กับระบบงานวิจัยข้าวไทย” และ “ข้าวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม”

2. คณะกรรมการฯ ต่ออายุกรรมการ 5 ท่าน : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ดร.ขวัญใจ โกเมศ ดร.สมศรี อรุณินท์ คุณจารุวรรณ วนาสิน

และคุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ออกไปอีกคนละหนึ่งวาระตั้งแต่ 12 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

3. คณะกรรมการฯ อนุมัติการลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ของดร.ขวัญใจ โกเมศ

ตั้งแต่ 31 มีนาคม 2567 แต่ให้อยู่เป็นกรรมการบริหารต่อไปจนกว่าจะหมดวาระ และแต่งตั้งคุณดรุณี เอ็ดเวิร์ดส
ที่ปรึกษากรรมการมูลนิธิฯ เป็นกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิฯ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 เป็นระยะเวลา 3 ปี

4. คณะกรรมการฯ แต่งตั้งคุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร คุณสุเมธ เหล่าโมราพร และคุณวรรณิภา ภักดีบุตร เป็นอนุกรรมการ

พัฒนากิจกรรม และคุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร และคุณวรรณิภา ภักดีบุตร เป็นอนุกรรมการสรรหา เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2567

]]>
บัตรอเนกประสงค์ ข้าวคือชีวิต 2567 https://thairice.org/?p=14155 Wed, 14 Feb 2024 23:25:07 +0000 https://thairice.org/?p=14155

บัตรอเนกประสงค์ “ข้าวคือชีวิต”

บัตรอเนกประสงค์ “ข้าวคือชีวิต” ประกอบด้วยภาพวาดเกี่ยวกับข้าวที่ชนะการประกวดภาพวาดระบายสี “ข้าวคือชีวิต” ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โดยอนุชนอายุตั้งแต่ 6 ถึง 17 ปี
บัตรอเนกประสงค์นี้มีทั้งสิ้น 3 ชุด ตามระดับอายุของผู้วาดภาพคือ 6-11 ปี 12-14 ปี และ 15-17 ปี แต่ละชุดประกอบด้วยบัตรอวยพร 14 ใบ (แบบพับ ขนาด 10×15 ซม.) พร้อมซองใส่ในกล่องเฉพาะ
คลิกที่ภาพ ของแต่ละชุดเพื่อดูภาพทั้ง 14 ใบของชุดนั้น
ชุดที่ 1 ผู้วาดภาพ 6-11 ปี
ชุดที่ 2 ผู้วาดภาพ 12-14 ปี
ชุดที่ 3 ผู้วาดภาพ 15-17 ปี

ชุดที่ 1 ระดับอายุ 6-11 ปี

ชุดที่ 2 ระดับอายุ 12-14 ปี

ชุดที่ 3 ระดับอายุ 15-17 ปี

The form can be filled in the actual website url.
]]>
หนังสือข้าว 2567 https://thairice.org/?p=14153 Wed, 14 Feb 2024 23:22:34 +0000 https://thairice.org/?p=14153

หนังสือข้าว

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์หนังสือข้าวขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้าวที่สาธารณชนควรรู้ และสามารถจำหน่ายได้ในราคาย่อมเยา เหมาะแก่การให้เป็นของขวัญแก่ผู้ใหญ่ ญาติพี่น้อง ลูกหลานและมิตรสหาย ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
ข้าวกับประชาคมอาเซียนมีความผูกพันกันอย่างมาก ข้าวอยู่คู่กับภูมิภาคอาเซียนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากข้าวจะได้พิสูจน์ภูมิปัญญาของคนประเทศอาเซียนในการสร้างนาข้าวให้เป็นภูมิทัศน์อันงดงามด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ และกระบวนการอันชาญฉลาดแล้ว ข้าวยังเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวนาอาเซียนรังสรรค์ประเพณี พิธีกรรม ศิลปะและอาหารได้อย่างหลากหลายวิธีโดยมีข้าวเป็นศูนย์กลาง ซึ่งรวมเรียกว่า “วัฒนธรรมข้าว” ได้อย่างน่าอัศจรรย์อีกด้วย มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชวนท่านทำความรู้จักกับวัฒนธรรมข้าวอันเป็นเอกลักษณ์ของประชาคมอาเซียนผ่านทางภาพถ่ายซึ่งได้คัดสรรมาจากการประกวดภาพถ่ายนานาชาติเมื่อปี 2558 และจากความร่วมมือของเครือข่ายพันธมิตรในประเทศอาเซียน
หนังสือมีขนาด 23.0 x 27.5 ซม. 168 หน้า และ 259 ภาพ พิมพ์สีสดสวยงดงาม คำบรรยายภาพมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเหมาะแก่การให้เป็นของขวัญแก่ชาวต่างชาติเป็นอย่างยิ่ง ราคาพิเศษเล่มละ 199 บาท
กดที่ภาพเพื่อรับชมตัวอย่างภาพ 21 ภาพ
2. หนังสือ “ข้าวของเรา”
หนังสือเรื่อง “ข้าวของเรา” ให้คำตอบเรื่องข้าวแก่ผู้บริโภคข้าวในแบบคนกินข้าวธรรมดา ๆ ที่บางครั้งมีคำถามเกิดขึ้นในใจหลายอย่างเกี่ยวกับข้าว เช่น จะเลือกซื้อข้าวแบบไหนดี คนเราควรกินข้าวมากน้อยแค่ไหน หุงข้าวกล้องอย่างไรให้อร่อย และอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนั้นยังมีเมนูอาหารที่ทำจากข้าวแถมพกมาให้รู้สึกอยากกินข้าวมากขึ้นอีกด้วย มีหลายบทที่น่าสนใจมาก เช่น • กินข้าวรักษามะเร็ง • อ้วนไม่อ้วนไม่เกี่ยวกับข้าว • เลือกซื้อข้าว • งามตามธรรมชาติด้วยข้าว
หนังสือมีขนาด 20 x 20 ซม. 109 หน้า ราคาพิเศษเล่มละ 30 บาท
• กินข้าวรักษามะเร็ง
• เลือกซื้อข้าว
• อ้วนไม่อ้วนไม่เกี่ยวกับข้าว
• งามตามธรรมชาติด้วยข้าว
หนังสือมีขนาด 20 x 20 ซม. 109 หน้า ราคาพิเศษเล่มละ 30 บาท
3. หนังสือ “84 สูตรอาหารข้าวกล้องเฉลิมพระเกียรติ”
“คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวขาวมากกว่าข้าวกล้อง ทั้ง ๆ ที่ข้าวกล้องให้คุณค่าอาหารสูงกว่าข้าวขาวมาก”
“ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้ เป็นข้าวที่มีประโยชน์ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกัน
เพราะเห็นว่าเป็นข้าวของคนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ข้าวขาวเม็ดสวย แต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง
เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่ก็คนจน...”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ให้ไว้ เมื่อ 18 พ.ย. 2541
หนังสือ “84 สูตรอาหารข้าวกล้องเฉลิมพระเกียรติ” รวบรวมสูตรอาหารที่มีข้าวกล้องเป็นส่วนผสมหลักจากเชฟมืออาชีพ 84 ท่าน มาจากร้านอาหาร ภัตตาคาร และโรงแรม ที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศ สูตรอาหารข้าวกล้องประกอบด้วย อาหารจานเดียว อาหารว่าง และอาหารหวาน ซึ่งล้วนเป็นสูตรอาหารที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายทั้งแบบไทยและสากล สูตรอาหารมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เหมาะที่จะให้เป็นของขวัญ แก่ชาวต่างประเทศได้อย่างดี
หนังสือมีขนาด 19 x 19 ซม. 196 หน้า ราคาพิเศษเล่มละ 70 บาท
The form can be filled in the actual website url.
]]>
คำถาม – คำตอบ Online จากการประชุมเวทีข้าวไทย 2566 https://thairice.org/?p=13910 Sun, 21 Jan 2024 22:25:13 +0000 https://thairice.org/?p=13910
การประชุมเวทีข้าวไทยปี 2566
เรื่อง “อนาคตข้าวไทย : โอกาสและความท้าทาย”
คำถามจากผู้ชม Online และคำตอบ

1. คําถาม : การประกวดข้าวโลกเปลี่ยนไปหรือ เราจึงไม่เข้าร่วมการประกวดปี 2023

คําตอบ : องค์กร The Rice Trader ผู้จัดเวทีการประกวดข้าวดีที่สุดในโลก (The World's Best Rice 2023) ในการประชุมข้าวโลก (2023 International IWRC) ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผลการประกวด ข้าวสาย พันธุ์ ST25 ของเวียดนาม ได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลกประจําปี 2023 เพราะประเทศไทยไม่ได้ส่ง ข้าวไทยเข้าประกวด จากกติกาการประกวดแต่เดิมเน้นด้านคุณภาพข้าวในแต่ละตัวอย่างที่ส่งเข้าประกวดโดยเชฟระดับโลก ทุกปีที่ผ่านมาสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เป็นผู้ส่งข้าวไทยเข้าประกวดทุกปีและในการประกวดมา 14 ครั้ง ประเทศไทยได้เป็นแชมป์ 7 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิ 105 ก็ยังถือว่าเป็นข้าวที่ดีที่สุด และยังเชื่อมั่นได้ ว่าคุณภาพข้าวไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าข้าวของประเทศอื่น แต่สาเหตุที่ประเทศไทยไม่ได้ส่งข้าวไทยเข้า ประกวดในปี 2023 และถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิก เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องมองว่าการประกวดเริ่ม เป็นการค้า หรือการเมืองมากขึ้น

และ

2. คําถาม : ตอนนี้ชาวนาไทยหันมาปลูกข้าวเวียดนามกันเยอะมาก น่าเป็นห่วงข้าวไทย

คําตอบ : ชาวนาไทยหันมาปลูกข้าวเวียดนามกันเยอะมากจริง สาเหตุมาจากข้าวเวียดนามพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ได้ถูก พัฒนามามีอายุสั้นกว่าพันธุ์ข้าวไทยที่พัฒนาออกมาจากหน่วยงานของไทย ด้วยภาคกลางมีวิถีการผลิตข้าว แบบไม่ไวแสง ซึ่งถ้าพันธุ์ข้าวมีอายุสั้นก็จะมีผลผลิตต่อไร่มากกว่า ชาวนาภาคกลางจึงนิยมปลูกให้เข้ากับพื้นที่ มากขึ้น หากมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวไทยให้ตรงกับพื้นที่ ในเรื่องผลผลิตต่อไร่ที่มากขึ้น และอายุการเก็บเกี่ยวที่ สั้นลง ชาวนาก็จะหันมาปลูกพันธุ์ข้าวไทยมากขึ้น และปลูกข้าวเวียดนามน้อยลง

3. คําถาม : การให้ความรู้ยังลงไม่ถึงชาวนารากหญ้าอย่างแท้จริง

คําตอบ : ประเทศไทยมีการพัฒนาความรู้ทางการเกษตรและถ่ายทอดลงสู่ชาวนาได้ไม่มากพอจริงยังต้องเพิ่ม การฝึกทักษะให้ชาวนามีความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริงมากขึ้น โอกาสการใช้สื่อการสอนที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น Application YouTube จะช่วยทําให้เกิดการปรับตัวของชาวนาทําให้สามารถเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีของ หน่วยงานต่าง ๆ ได้

4. คําถาม : การที่ฐานรากอ่อนแอ เป็นไปได้หรือไม่ว่า เกิดจากการหาผลประโยชน์จากคนที่อยู่สูงกว่าฐานราก?

คําตอบ : ต้องทําให้ชาวนาเข้มแข็งด้วยความรู้ที่ถูกต้องและสามารถไตร่ตรองในสิ่งที่จะนํามาใช้มากกว่าการเชื่อ ตาม ๆ กันไป ซึ่งจะทําให้ไม่มีใครที่จะมีโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ จากชาวนาได้

5. คําถาม : กลุ่มชาวนาจังหวัดชัยนาทผลิตเมล็ดพันธุ์สําเร็จ แต่ทําไมชาวนาที่ใช้เมล็ดพันธุ์ยังจนเหมือนเดิม

คําตอบ : ชาวนาจังหวัดชัยนาทผลิตเมล็ดพันธุ์สําเร็จในเชิงธุรกิจที่ดีมาก ตัวอย่างที่ ถนนข้าวปลูก ชาวนากลุ่ม ผลิตเมล็ดพันธุ์ก็จะปรับตัวจากชาวนาขายข้าวเปลือกเข้าโรงสี สู่ ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ชาวนาที่ใช้เมล็ดพันธุ์ยังจนเหมือนเดิมเพราะเป็นการปลูกข้าวขายข้าวเปลือก ต้นทุนการผลิตข้าวที่สูงและ ผลผลิตข้าวต่อไร่ก็ได้ไม่มากพอที่จะได้กําไรมาก โอกาสความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่แปรปรวน เช่น แล้ง น้ํา ท่วม ก็จะขาดทุนมากขึ้น สิ่งที่จะช่วยได้มาก คือ พันธุ์ข้าวที่ใช้ผลิตให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปัจจุบัน

6. คําถาม : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระทบช่วงเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวหรือไม่ อย่างไร

คําตอบ : เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะมีผลกระทบในแต่ละช่วงเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวข้าว เช่น สภาพอากาศในปี 2567 ที่คาดว่าจะมีปริมาณน้ําฝนน้อย จะมีภาวะภัยแล้งได้ในการปลูกข้าว ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ช่วงการปลูก จนถึงช่วงออกดอก ข้าวจะไม่ผสมเกสร ถ้าเจอแล้ง ก็จะไม่ติดเมล็ด ผลผลิตก็จะต่ํามาก ดังนั้นชาวนาที่ปลูกข้าวก็จะมีการแย่งน้ํากัน และต้องมีการสูบน้ําซึ่งก็จะทําให้ต้นทุนการผลิตสูง ทําให้ชาวนา มีโอกาสก็จะขาดทุนได้ ถ้าได้ผลผลิตต่อไร่น้อย แต่ถ้าสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฝนตกหนักในช่วงก่อนเก็บ เกี่ยวข้าว ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคไหม้คอรวง ทําให้ผลผลิตข้าวต่ํา หรือน้ําท่วมขณะช่วงกําลังเก็บเกี่ยวข้าว ก็จะสูญเสียผลผลิต ซึ่งจะเกิดกับชาวนาภาคกลางมาก

7. คําถาม : ปลูกพร้อมกัน เก็บเกี่ยวพร้อมกัน ข้าวออกมาราคาจะตกหรือไม่

คําตอบ : ข้าวไวแสงจะปลูก ช่วงสิงหาคม และเก็บเกี่ยวช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงต้นธันวาคม ทั้งภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเวลาเดียวกัน ราคาข้าวก็จะขึ้นอยู่กับตลาดหรือโรงสี ดังนั้น ราคาข้าว ช่วงที่ ข้าวออกพร้อมกันก็จะได้ราคาต่ํากว่าข้าวที่เก็บไว้และชะลอการขาย

8. คําถาม : อยากให้ชาวนาทําปุ๋ยหมักใช้เองเป็นการลดต้นทุนและลดก๊าซเรือนกระจก

คําตอบ : ในภาวะปุ๋ยราคาแพง การที่ชาวนาทําปุ๋ยหมักไว้ใช้เองจะมีประโยชน์มากแต่การทํานาในพื้นที่จํานวน มาก ขบวนการทําปุ๋ยหมักไว้ใช้เองจะค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ปุ๋ยหมักจํานวนมาก ในกรณีที่ชาวนาทํานาทั้ง นาปีและนาปรังการทําปุ๋ยหมักใช้เองต้องใช้พื้นที่มาก ในส่วนนี้จึงมีการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังเป็นการทําปุ๋ยหมักในนาข้าว โดยไม่ต้องขนย้ายกองปุ๋ยหมักมายังนาข้าว
องค์ความรู้การทําปุ๋ยหมัก :

และ

9. คําถาม : ข้าวไร่มีโอกาสที่จะพัฒนาเข้าสู่การค้าได้หรือไม่คะ

คําตอบ : ข้าวไร่ส่วนใหญ่เป็นข้าวไวแสง ปลูกแบบอาศัยน้ําฝนในงานวิจัยพบว่าบางพันธุ์มีจุดเด่นด้านคุณภาพ และโภชนาการสูง จึงมีโอกาสจะพัฒนาเข้าสู่การค้าในเชิงสินค้า premium การทําธุรกิจข้าวไร่ ต้องมีมุมมอง การตลาดที่ถูกต้องและสัมพันธ์กับพื้นที่การผลิต ในกรณีที่สินค้ามีความต้องการมากแต่พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย จะบุกรุกทําลายป่าก็จะทําลายสิ่งแวดล้อม

]]>
ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวดนวัตกรรมข้าวไทย 2567 ฟอร์มที่ไม่ผ่าน # 3 + Embed https://thairice.org/?p=13797 Mon, 15 Jan 2024 12:42:51 +0000 https://thairice.org/?p=13797

รับใบสมัคร ส่งผลงานเข้าประกวด
นวัตกรรมข้าวไทย 2567

ส่งใบสมัคร ส่งผลงานเข้าประกวด
นวัตกรรมข้าวไทย 2567

* เพื่อความสะดวก การดาวน์โหลดใบสมัคร และการกรอกใบสมัคร
หรือการส่งใบสมัครให้มูลนิธิฯ ควรทำบนคอมพิวเตอร์

The form can be filled in the actual website url.

1. กดที่ปุ่ม "ดาวน์โหลดใบสมัคร"

2. จะเห็นไฟล์ใบสมัครที่สามารถดาวน์โหลดได้ ตามตัวอย่างในภาพด้านล่างนี้
ผู้สมัครสามารถเลือกดาวน์โหลดไฟล์ในฟอร์แมตไฟล์ที่ต้องการ

3. กรอกข้อมูลลงในใบสมัคร

4. กดที่ปุ่ม "เลือกไฟล์ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเสร็จแล้ว"

5. กดที่ปุ่ม "ส่งใบสมัครให้มูลนิธิฯ"

The form can be filled in the actual website url.

การส่งผลงาน

ภายใน 3 วัน หลังส่งใบสมัคร ผู้สมัครควรส่งตัวอย่างผลงาน ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในใบสมัคร มายัง

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
317 อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม 10900
โทร: 02 942 7620 , 02 942 7626 E-mail : ricefoundthailand@yahoo.com

]]>
ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวดนวัตกรรมข้าวไทย 2567 ฟอร์มที่ไม่ผ่าน # 1 https://thairice.org/?p=13539 Sat, 13 Jan 2024 04:43:39 +0000 https://thairice.org/?p=13539

กรอกใบสมัคร ส่งผลงานเข้าาประกวด
นวัตกรรมข้าวไทย

The form can be filled in the actual website url.

การส่งผลงาน

ภายใน 3 วัน หลังส่งใบสมัคร ผู้สมัครควรส่งตัวอย่างผลงาน ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในใบสมัคร มายัง

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
317 อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม 10900
โทร: 02 942 7620 , 02 942 7626 E-mail : ricefoundthailand@yahoo.com

]]>
ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวดนวัตกรรมข้าวไทย 2567 G Drive https://thairice.org/?p=13534 Sat, 13 Jan 2024 03:44:13 +0000 https://thairice.org/?p=13534

ส่งใบสมัคร

The form can be filled in the actual website url.

การส่งผลงาน

ภายใน 3 วัน หลังส่งใบสมัคร ผู้สมัครควรส่งตัวอย่างผลงาน ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในใบสมัคร มายัง

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
317 อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม 10900
โทร: 02 942 7620 , 02 942 7626 E-mail : ricefoundthailand@yahoo.com

]]>
ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวดนวัตกรรมข้าวไทย 2567 ฟอร์มที่ไม่ผ่าน # 2 https://thairice.org/?p=12992 Sat, 30 Dec 2023 04:12:28 +0000 https://thairice.org/?p=12992

การส่งใบสมัคร

* กรุณาปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนที่ระบุไว้ด้านล่างนี้
1. กดดาวน์โหลดใบสมัคร ( ที่ภาพด้านล่างนี้ )
2. กรอกใบสมัคร และบันทึกไฟล์
3. กด "เลือกไฟล์ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเสร็จแล้ว"
The form can be filled in the actual website url.

การส่งผลงาน

ภายใน 3 วัน หลังส่งใบสมัคร ผู้สมัครควรส่งตัวอย่างผลงาน ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในใบสมัคร มายัง

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
317 อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม 10900
โทร: 02 942 7620 , 02 942 7626 E-mail : ricefoundthailand@yahoo.com

]]>
ภาพจากการประชุมเวทีข้าวไทย 2566 https://thairice.org/?p=12989 Wed, 27 Dec 2023 03:57:36 +0000 https://thairice.org/?p=12989

ภาพจากการประชุม

1. พิธีเปิดการประชุม
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กล่าวต้อนรับ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ประธานมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กล่าวปราศรัย
ดร.ขวัญใจ โกเมศ
เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กล่าวรายงาน
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานพิธี
ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐ กับอนาคตข้าวไทย”
และกล่าวเปิดงาน
2. เสวนากลุ่ม 2 ชุด
เสวนากลุ่ม 1 “ชาวนาไทยในอนาคต”
(จากซ้ายไปขวา) รศ.ดร.อิสริยา บุญญะศิริ คุณนิทัศน์ เจริญธรรมรักษา
ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา (ผู้ดำเนินรายการ) คุณนฤมล ฉัตรวิไล และคุณสุภชัย ปิติวุฒิ
เสวนากลุ่ม 2 “อนาคตของการค้าข้าวไทย”
(จากซ้ายไปขวา) คุณสุทธิ สานกิ่งทอง คุณนิพนธ์ สมิทธาพิพัฒน์ ดร.วัลลภ มานะธัญญา (ผู้ดำเนินรายการ)
คุณวันนิวัต กิติเรียงลาภ และคุณยงยุทธ์ พฤกษ์มหาดำรง
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ดร.ขวัญใจ โกเมศ และดร.กริชผกา บุญเฟื่อง
ถ่ายภาพรวมกับนวัตกรที่ได้รับรางวัล
3. พิธีปิด
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวปิดการประชุม
4. ภาพในห้องประชุม
ผู้เข้าประชุม
5. นิทรรศการ
ผอ.กุลศิริ กลั่นนุรักษ์ พร้อมกรรมการฯ
นำประธานพิธี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ชมนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีข้าวสมัยใหม่ รวมทั้งการใช้เครื่องจักรกลและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวไทย
แอปไลน์บอทโรคข้าว
แอป AllRice (ระบบที่ปรึกษาชาวนาไทย)
KUBOTA (Agri) Solutions - เกษตรครบวงจร
แป้งหมักขนมจีนและขนมจีนแห้งคืนรูปเร็ว กาบาสูง
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับนวัตกรรมข้าว
]]>
การประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2566 “อนาคตข้าวไทย โอกาสและความท้าทาย” https://thairice.org/?p=12937 Wed, 20 Dec 2023 08:51:59 +0000 https://thairice.org/?p=12937

การประชุมเวทีข้าวไทยปี 2566
เรื่อง “อนาคตข้าวไทย : โอกาสและความท้าทาย”
13 ธันวาคม 2566

]]>