Skip to content
LINKS
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
LINKS
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
Facebook
Youtube
Facebook
Youtube
LINKS
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
LINKS
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
Facebook
Youtube
LINKS
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
LINKS
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
การประชุมเวทีข้าวไทยปี 2566
เรื่อง “อนาคตข้าวไทย : โอกาสและความท้าทาย”
คำถามจากผู้ชม Online และคำตอบ
1.
คําถาม :
การประกวดข้าวโลกเปลี่ยนไปหรือ เราจึงไม่เข้าร่วมการประกวดปี 2023
คําตอบ :
องค์กร The Rice Trader ผู้จัดเวทีการประกวดข้าวดีที่สุดในโลก (The World's Best Rice 2023) ในการประชุมข้าวโลก (2023 International IWRC) ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผลการประกวด ข้าวสาย พันธุ์ ST25 ของเวียดนาม ได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลกประจําปี 2023 เพราะประเทศไทยไม่ได้ส่ง ข้าวไทยเข้าประกวด จากกติกาการประกวดแต่เดิมเน้นด้านคุณภาพข้าวในแต่ละตัวอย่างที่ส่งเข้าประกวดโดยเชฟระดับโลก ทุกปีที่ผ่านมาสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เป็นผู้ส่งข้าวไทยเข้าประกวดทุกปีและในการประกวดมา 14 ครั้ง ประเทศไทยได้เป็นแชมป์ 7 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิ 105 ก็ยังถือว่าเป็นข้าวที่ดีที่สุด และยังเชื่อมั่นได้ ว่าคุณภาพข้าวไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าข้าวของประเทศอื่น แต่สาเหตุที่ประเทศไทยไม่ได้ส่งข้าวไทยเข้า ประกวดในปี 2023 และถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิก เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องมองว่าการประกวดเริ่ม เป็นการค้า หรือการเมืองมากขึ้น
https://workpointtoday.com/the-worlds-best-rice-2023/
และ
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000109716
2.
คําถาม :
ตอนนี้ชาวนาไทยหันมาปลูกข้าวเวียดนามกันเยอะมาก น่าเป็นห่วงข้าวไทย
คําตอบ :
ชาวนาไทยหันมาปลูกข้าวเวียดนามกันเยอะมากจริง สาเหตุมาจากข้าวเวียดนามพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ได้ถูก พัฒนามามีอายุสั้นกว่าพันธุ์ข้าวไทยที่พัฒนาออกมาจากหน่วยงานของไทย ด้วยภาคกลางมีวิถีการผลิตข้าว แบบไม่ไวแสง ซึ่งถ้าพันธุ์ข้าวมีอายุสั้นก็จะมีผลผลิตต่อไร่มากกว่า ชาวนาภาคกลางจึงนิยมปลูกให้เข้ากับพื้นที่ มากขึ้น หากมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวไทยให้ตรงกับพื้นที่ ในเรื่องผลผลิตต่อไร่ที่มากขึ้น และอายุการเก็บเกี่ยวที่ สั้นลง ชาวนาก็จะหันมาปลูกพันธุ์ข้าวไทยมากขึ้น และปลูกข้าวเวียดนามน้อยลง
3.
คําถาม :
การให้ความรู้ยังลงไม่ถึงชาวนารากหญ้าอย่างแท้จริง
คําตอบ :
ประเทศไทยมีการพัฒนาความรู้ทางการเกษตรและถ่ายทอดลงสู่ชาวนาได้ไม่มากพอจริงยังต้องเพิ่ม การฝึกทักษะให้ชาวนามีความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริงมากขึ้น โอกาสการใช้สื่อการสอนที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น Application YouTube จะช่วยทําให้เกิดการปรับตัวของชาวนาทําให้สามารถเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีของ หน่วยงานต่าง ๆ ได้
4.
คําถาม :
การที่ฐานรากอ่อนแอ เป็นไปได้หรือไม่ว่า เกิดจากการหาผลประโยชน์จากคนที่อยู่สูงกว่าฐานราก?
คําตอบ :
ต้องทําให้ชาวนาเข้มแข็งด้วยความรู้ที่ถูกต้องและสามารถไตร่ตรองในสิ่งที่จะนํามาใช้มากกว่าการเชื่อ ตาม ๆ กันไป ซึ่งจะทําให้ไม่มีใครที่จะมีโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ จากชาวนาได้
5.
คําถาม :
กลุ่มชาวนาจังหวัดชัยนาทผลิตเมล็ดพันธุ์สําเร็จ แต่ทําไมชาวนาที่ใช้เมล็ดพันธุ์ยังจนเหมือนเดิม
คําตอบ :
ชาวนาจังหวัดชัยนาทผลิตเมล็ดพันธุ์สําเร็จในเชิงธุรกิจที่ดีมาก ตัวอย่างที่ ถนนข้าวปลูก ชาวนากลุ่ม ผลิตเมล็ดพันธุ์ก็จะปรับตัวจากชาวนาขายข้าวเปลือกเข้าโรงสี สู่ ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ชาวนาที่ใช้เมล็ดพันธุ์ยังจนเหมือนเดิมเพราะเป็นการปลูกข้าวขายข้าวเปลือก ต้นทุนการผลิตข้าวที่สูงและ ผลผลิตข้าวต่อไร่ก็ได้ไม่มากพอที่จะได้กําไรมาก โอกาสความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่แปรปรวน เช่น แล้ง น้ํา ท่วม ก็จะขาดทุนมากขึ้น สิ่งที่จะช่วยได้มาก คือ พันธุ์ข้าวที่ใช้ผลิตให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปัจจุบัน
6.
คําถาม :
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระทบช่วงเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวหรือไม่ อย่างไร
คําตอบ :
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะมีผลกระทบในแต่ละช่วงเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวข้าว เช่น สภาพอากาศในปี 2567 ที่คาดว่าจะมีปริมาณน้ําฝนน้อย จะมีภาวะภัยแล้งได้ในการปลูกข้าว ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ช่วงการปลูก จนถึงช่วงออกดอก ข้าวจะไม่ผสมเกสร ถ้าเจอแล้ง ก็จะไม่ติดเมล็ด ผลผลิตก็จะต่ํามาก ดังนั้นชาวนาที่ปลูกข้าวก็จะมีการแย่งน้ํากัน และต้องมีการสูบน้ําซึ่งก็จะทําให้ต้นทุนการผลิตสูง ทําให้ชาวนา มีโอกาสก็จะขาดทุนได้ ถ้าได้ผลผลิตต่อไร่น้อย แต่ถ้าสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฝนตกหนักในช่วงก่อนเก็บ เกี่ยวข้าว ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคไหม้คอรวง ทําให้ผลผลิตข้าวต่ํา หรือน้ําท่วมขณะช่วงกําลังเก็บเกี่ยวข้าว ก็จะสูญเสียผลผลิต ซึ่งจะเกิดกับชาวนาภาคกลางมาก
7.
คําถาม :
ปลูกพร้อมกัน เก็บเกี่ยวพร้อมกัน ข้าวออกมาราคาจะตกหรือไม่
คําตอบ :
ข้าวไวแสงจะปลูก ช่วงสิงหาคม และเก็บเกี่ยวช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงต้นธันวาคม ทั้งภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเวลาเดียวกัน ราคาข้าวก็จะขึ้นอยู่กับตลาดหรือโรงสี ดังนั้น ราคาข้าว ช่วงที่ ข้าวออกพร้อมกันก็จะได้ราคาต่ํากว่าข้าวที่เก็บไว้และชะลอการขาย
8.
คําถาม :
อยากให้ชาวนาทําปุ๋ยหมักใช้เองเป็นการลดต้นทุนและลดก๊าซเรือนกระจก
คําตอบ :
ในภาวะปุ๋ยราคาแพง การที่ชาวนาทําปุ๋ยหมักไว้ใช้เองจะมีประโยชน์มากแต่การทํานาในพื้นที่จํานวน มาก ขบวนการทําปุ๋ยหมักไว้ใช้เองจะค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ปุ๋ยหมักจํานวนมาก ในกรณีที่ชาวนาทํานาทั้ง นาปีและนาปรังการทําปุ๋ยหมักใช้เองต้องใช้พื้นที่มาก ในส่วนนี้จึงมีการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังเป็นการทําปุ๋ยหมักในนาข้าว โดยไม่ต้องขนย้ายกองปุ๋ยหมักมายังนาข้าว
องค์ความรู้การทําปุ๋ยหมัก :
https://www.doa.go.th/plan/wp-content/uploads/2021/04/431.196%
และ
https://researchex.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/32-soil-and-fertilizer/177-global-warming-fertilizer
9.
คําถาม :
ข้าวไร่มีโอกาสที่จะพัฒนาเข้าสู่การค้าได้หรือไม่คะ
คําตอบ :
ข้าวไร่ส่วนใหญ่เป็นข้าวไวแสง ปลูกแบบอาศัยน้ําฝนในงานวิจัยพบว่าบางพันธุ์มีจุดเด่นด้านคุณภาพ และโภชนาการสูง จึงมีโอกาสจะพัฒนาเข้าสู่การค้าในเชิงสินค้า premium การทําธุรกิจข้าวไร่ ต้องมีมุมมอง การตลาดที่ถูกต้องและสัมพันธ์กับพื้นที่การผลิต ในกรณีที่สินค้ามีความต้องการมากแต่พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย จะบุกรุกทําลายป่าก็จะทําลายสิ่งแวดล้อม
Scroll to Top