เกี่ยวกับเรา
มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประชากรไทยที่ทำการเพาะปลูกข้าวมีราว 5.1 ล้านครัวเรือน หรือเป็น 63.6% ของภาคเกษตรทั้งประเทศครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกถึง 43.6% ของพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศ หรือส่วนใหญ่ของประชากรไทยปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ประเทศไทยเคยส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก กว่า 10 ล้านตันต่อปี ข้าวไทยสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมากทุกปี ข้าวจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศในช่วงวิกฤต
ข้าว เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมประจำชาติ มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ศาสนพิธี การเฉลิมฉลอง ภูมิปัญญาและวิถีทางในการดำรงชีวิตของคนไทย ชาวนาหรือเกษตรกรปลูกข้าวอายุมากขึ้นและปัญหาที่เกิดในปัจจุบันคือไม่อยากให้ลูกหลานสืบทอดการเป็นชาวนา เพราะทราบถึงความยากลำบากในการทำนาและรายได้จากการผลิตที่ไม่แน่นอน งบประมาณของรัฐบาลที่ใช้สำหรับค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับข้าวก็ยังค่อนข้างจำกัด
เพื่ออนาคตของประเทศ เราต้องร่วมกันสร้างอนาคตของข้าวไทยให้ดีขึ้น ชาวนาควรรู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต โดยรักษาคุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อม และควรเข้าใจถึงกลไกของราคาข้าว กิจกรรมของโรงสีข้าว และการค้าข้าวทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงรอบ ๆ ตัว สามารถรับกับระบบเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ที่กำลังเผชิญอยู่ได้
ประชาชนทั่วไปควรที่จะมีความรู้และให้ความสนใจในเรื่องข้าวมากขึ้น ทั้งในด้านบทบาทของข้าวต่อวิถีการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งในด้านกระบวนการผลิตของชาวนา เราต้องเร่งเรียกร้องให้คนไทยหันกลับมาทำความรู้จักกับวัฒนธรรมข้าว เลือกสรร อนุรักษ์ บูรณาการความรู้เรื่องข้าวเพื่อเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป สร้างการทำนาให้เป็นอาชีพที่ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ได้
แต่เนื่องจากงานพัฒนาข้าวและชาวนามีขอบเขตกว้างขวาง องค์กรใดองค์กรหนึ่งย่อมไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การนานาชาติ อาศัยกลไกการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีเงินทุนสนับสนุนที่พอเพียงสำหรับงานวิจัยและการฝึกอบรมต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2543
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
มูลนิธิฯ มุ่งที่จะยกระดับอนาคตของข้าวและชาวนาไทย เพื่อให้ชาวนาไทยสามารถปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ และหวังที่จะเห็นสาธารณชนคนไทยยกย่องและใส่ใจในมรดกวัฒนธรรมข้าว และร่วมกันดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
1. รักษามรดกวัฒนธรรมข้าวไทย
2. เผยแพร่ความรู้ในเรื่องข้าว
3. สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องข้าว
4. สนับสนุนนโยบายที่ก่อให้เกิดความคล่องตัวในวงการข้าวไทย
Thai Rice Foundation under Royal Patronage
The Thai population that cultivates rice is approximately 5.1 million households, or 63.6% of the entire agricultural sector, covering 43.6% of the country’s agricultural land. Thus, the majority of the Thai population grows rice as their main crop. Thailand used to be the top exporter of rice to the world market, over 10 million metric tons. Over the years, Thai rice has gained fame all over the world and generates a large amount of income for the country every year. Rice is therefore an important economic crop of the country and helps support the country’s economy during a crisis.
Rice is an important part of national culture. It has a great influence on customs, traditions, beliefs, religious ceremonies, wisdom and way of life of the Thai people. Rice farmers are getting older and the current problem is that they don’t want their children and grandchildren to be farmers. It is because they know the difficulty of farming and the uncertain income from production. The government budget for research and development on rice is still quite limited.
For the near future of the country, many of organizations must work together to create a better future for Thai rice. Farmers should know how to use modern technology combined with traditional culture to increase productivity, to reduce production costs and to still maintain quality of life and the environment. Farmers need to understand the fluctuation of rice prices, know rice mill activities and rice trade both within and outside the country in order to be able to support the changes around us and be able to accept the globalized economic system that we are currently facing. It is to make rice farming a career that can attract the new generation.
The general public should have more knowledge about the rice they consume, in terms of the role of rice in lifestyles, beliefs, traditions and its production and processing. We must urge Thai people to get to know different types of rice more and their nutritional characteristics.
But because the work to develop rice and farmers has a wide scope, any single organization cannot do it alone. Therefore, it is necessary to receive cooperation and support from various agencies, including the government, private sector and international organizations. Relying on mechanisms for working together efficiently, there is a need for adequate funding for
research and training.
For all the above reasons the Thai Rice Foundation Under Royal Patronage was established in 2000.
Objectives of the Foundation
The foundation aims to improve the future of rice and Thai farmers so that Thai farmers can adapt to the modern world that is constantly changing. And the hope to see the Thai population honor and care about the rice cultural heritage and to work together to care for the farmland so that it remains a national treasure. The main objectives are as follows:
1. Preserve Thai rice cultural heritage
2. Disseminate knowledge about rice
3. Support research and development on rice
4. Support policies that create flexibility in the Thai rice industry
กรรมการบริหารมูลนิธิฯ
มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีกรรมการบริหาร 16 ท่าน กรรมการกิตติมศักดิ์ 7 ท่านและที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ 1 ท่าน เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของมูลนิธิฯ
กรรมการบริหาร