โครงการอนุชนชาวนาไทย : ความอยู่รอดของข้าวไทย ปัจจุบันชาวนาไทยอยู่ในวัยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่คือมีอายุเฉลี่ยประมาณ 57 ปีส่วนมากมีการศึกษาแค่ระดับปฐม อีกทั้งชาวนาส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าอาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่ลำบากและชาวนามีฐานะยากจน จึงไม่ปรารถนาให้ลูกหลานมาเป็นชาวนาเหมือนตนมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพชาวนาไทย และเล็งเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพราะชาวนาขาดเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาชีพการทำนาขาดความยั่งยืน โดยมีความโน้มเอียงอย่างเห็นได้ชัดว่า ลูกหลานชาวนามักจะหันไปประกอบอาชีพอื่นแทนการทำนาตามพ่อแม่ จำนวนชาวนาไทยจึงได้ลดลงมาเป็นลำดับ ซึ่งอาจจะถึงระดับหนึ่งที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตข้าวได้มากพอที่จะมีข้าวเหลือเพื่อส่งออก หรืออาจถึงขั้นวิกฤตที่ไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศด้วยซ้ำมูลนิธิฯ จึงได้จัดโครงการ “อนุชนชาวนาไทย : ความอยู่รอดของข้าวไทย” ขึ้นในปี 2548 โดยมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ลูกหลานชาวนามองเห็นอนาคตที่ดีของการทำนาและกิจกรรมต่อเนื่องเรื่องข้าว เปิดโอกาสให้อนุชนได้รับประสบการณ์และเรียนรู้ในเรื่องงานวิจัยและการพัฒนาข้าว รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเพื่อการผลิตข้าวทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการค้าข้าว อันจะเป็นผลให้เยาวชนลูกหลานชาวนาเหล่านี้มองเห็นแนวทางการพัฒนาอาชีพทำนาและภาคการผลิตข้าวให้มีความเข้มแข็งขึ้น และเกิดความประทับใจและมั่นใจมากขึ้นว่าอนาคตของอาชีพการทำนาจะไม่มืดมนเหมือนอย่างที่คนไทยส่วนใหญ่กังวลอยู่ ทำให้เกิดมีชาวนารุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทันท่วงทีกิจกรรมหลักของโครงการอนุชนชาวนาไทย : ความอยู่รอดของข้าวไทย คือการคัดเลือกอนุชนลูกหลานชาวนาทั่วประเทศเพื่อส่งเข้า “ค่ายข้าว” ซึ่งจัดขึ้นประมาณ 7 – 10 วันในแต่ละภาคของประเทศเป็นประจำทุกปี เพื่อปลูกจิตสํานึกและบ่มเพาะแนวคิดให้เยาวชนลูกหลานชาวนาตระหนักถึงความสําคัญของข้าวต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และต่อเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้เทคโนโลยีและการจัดการการทำนาที่ทันสมัยเพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์และปรับปรุงสถานการณ์ข้าวและวิถีชีวิตของชาวนาไทยในยุคใหม่ให้ดีขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกและบ่มเพาะแนวคิดแก่เยาวชนลูกหลานชาวนาให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าวต่อวัฒนธรรม สังคมไทย และเศรษฐกิจของประเทศเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีข้าวที่ทันสมัย อันจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดชาวนารุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง ทำให้เกิดภาพลักษณ์ของข้าวไทยและวิถีชีวิตของชาวนาไทยยุคใหม่ที่ดีขึ้นเพื่อจรรโลงอาชีพชาวนาไทยให้ดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและยั่งยืนการสมัครเยาวชนลูกหลานชาวนาอายุระหว่าง 15-19 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3-5 หรือ ปวช. ปีที่ 1-2 หรือ ปวส. ปีที่ 1 สามารถสมัครได้ ในช่วง มีนาคม – กรกฎาคม ของแต่ละปีผู้ผ่านการคัดเลือก จะได้เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายข้าว” โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ค่ายข้าวจะจัดขึ้นใน 4 ภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เป็นเวลา 7 – 10 วัน ในเดือนตุลาคมของทุกปีหลังผ่านการเข้าค่ายข้าวแล้ว เยาวชนผู้เข้าค่ายจะได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายอนุชนชาวนาไทยระดับชาติ ทำหน้าที่เป็น “ยุวทูตข้าว” ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เรื่องข้าวแก่เยาวชนและสาธารณชนไทยในเวทีต่างๆ ปัจจุบันเครือข่ายอนุชนชาวนาไทยมีสมาชิกกว่า 1000 คนทั่วประเทศ ค่ายข้าวที่จัดขึ้นระหว่างปี 2549-2561 (คลิกเพื่อดูข้อมูลของแต่ละค่ายในแต่ละปี) ค่ายข้าวปี 2561 ค่ายข้าวภาคเหนือ ( วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวภาคใต้ (วษท.พัทลุง) ค่ายข้าวปี 2560 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.สิงห์บุรี) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวปี 2559 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.สิงห์บุรี) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวภาคใต้ (วษท.พัทลุง) ค่ายข้าวปี 2558 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.สิงห์บุรี) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวภาคใต้ (วษท.พัทลุง) ค่ายข้าวภาคเหนือ ( วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวปี 2557 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.สิงห์บุรี) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวภาคใต้ (วษท.พัทลุง) ค่ายข้าวปี 2556 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.สิงห์บุรี) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวภาคใต้ (วษท.พัทลุง) ค่ายข้าวปี 2555 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.สิงห์บุรี) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวปี 2554 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.สิงห์บุรี) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) ค่ายข้าวปี 2553 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.ปทุมธานี) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.อุบลราชธานี) ค่ายข้าวปี 2552 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.อุบลราชธานี) ค่ายข้าวภาคใต้ ( วษท.พัทลุง) ค่ายข้าวปี 2551 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พิจิตร) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.อุบลราชธานี) ค่ายข้าวปี 2550 ค่ายข้าวภาคกลาง (วษท.พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระ-เกียรติ) ค่ายข้าวภาคเหนือ (วษท.พะเยา) ค่ายข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วษท.ยโสธร) << โครงการมูลนิธิข้าวไทย การประกวดนวัตกรรมข้าวไทย >>